“ฟัง” ไม่ใช่ “ได้ยิน” เทคนิคง่ายๆ ในการฝึกร้องเพลง
ในคลาสสอนร้องเพลงของผม ชอบมีนักเรียนใจร้อน
อยากร้องให้เพราะๆ แต่ไม่ชอบฝึกพื้นฐานเยอะมาก
เอะอะก็จะร้องเพลงนั้น จะร้องเพลงนี้
บางทีพอเปิดเพลงมายังไม่ทันได้ฟังเลยก็ร้องตามเสียแล้ว
แล้วก็บ่นว่าร้องไม่เพราะเลย เปลี่ยนเพลงดีกว่า
ไม่ก็ถามว่าทำยังไงอ่ะครู หนูถึงจะร้องเพลงเพราะ
ผมมักจะบอกว่า เอ็งก็ฟังสิวะครับ ^^!
พูดถึง “ฟัง” เนี่ยะ ผมชอบบอกเด็กๆ นะครับว่า
เราต้อง “ฟัง” ไม่ใช่ “ได้ยิน” นะ
“ได้ยิน” มันอาจจะแค่ได้ยินเสียง
แต่อาจจะไม่สนใจที่จะฟังมันเลยด้วยซ้ำว่ามันคือเสียงอะไร
ส่วน “ฟัง” สำหรับผมมันคือขั้นกว่าของการได้ยิน
ได้ยินแล้วตั้งใจ “ฟัง” ให้รู้ว่ามันคืออะไร
มันสำคัญมากนะครับ นักเขียนต้องเป็นนักอ่านที่ดี
นักร้องก็เหมือนกัน ต้องเป็นนักฟังที่ดี
ในคลาสสอนร้องเพลงของผม
ผมชอบยกตัวอย่างให้เด็กๆ ฟัง ง่ายๆ 3 เรื่องนี้ครับ
“ตัวอย่างที่ 1”
เคยเห็นเวลานักดนตรีแกะเพลงมั๊ย
เค้าจะฟังเพลงไปที่ละประโยค
ฟังทีละท่อนสั้นๆ ฟังซ้ำไปซ้ำมา
ลองเล่นตาม… ถ้าเล่นผิด Rewind ใหม่
เล่นซ้ำอีกรอบ จนกว่าจะเล่นได้ถูกต้อง
ทั้งเรื่องของพยางค์และตัวโน้ต
พอเล่นได้แล้ว
นักดนตรีจะนั่งแกะสำเนียง
ว่าทำไมเราเล่นสำเนียงไม่เหมือน
ต้นแบบทำยังไงนะ แล้วลองทำตาม
ทำซ้ำจนกว่าจะเข้าใจและทำได้
นักดนตรีทำแบบนี้ทีละประโยคจนจบ
ทีละเพลง ทีละเพลง
จนในที่สุดเค้าเข้าใจมันจริงๆ
และสามารถสร้างสรรค์ผลงานของตัว
“ตัวอย่างที่ 2”
เคยเห็นนักเต้นเวลาเค้าซ้อมเต้น
เค้าจะแกะท่ากันทีละ 8
(นักเต้นนับ 2 Bars เป็น หนึ่งแปด หรือ 1 ท่าของเค้า)
ค่อยๆ หัดเต้นทีละแปด
แล้วพวกเค้าก็ต้องมานั่งเก็บราย
ว่าท่านี้แขนอยู่ตรงไหนนะ
นำหนักตัวทิ้งไปที่ขาไหนนะ
ไลน์เต้นแบบนี้ถูกมั๊ยนะ
พวกเค้าทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทั้งเพลง
ซ้อมเต้นจนไลน์สวยทั้งเพลง
ทีละเพลง ทีละเพลง
จนในที่สุดเค้าเข้าใจมันจริงๆ
และสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นนักอ
“ตัวอย่างที่ 3”
เคยเห็นคนหัดร้องเพลงมั๊ยครับ
พวกเค้าฟังเพลงวนไปเรื่อยๆ
ตั้งแต่ต้นเพลงจนจบเพลง
จบเพลงเริ่มฟังใหม่อีกครั้ง
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ แล้วคิดว่าจำได้
หลังจากนั้นเค้าก็เริ่มร้องเพลง
เอาท่อนกลางมาไว้ท่อนแรก
เอาท่อนสุดท้ายมาไว้ตรงกลาง
จำเนื้อเพลงได้แต่ท่อนฮุค
จำเมโลดี้และพยางค์ที่ถูกต้องไม่ได้
ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเพลงนี้นักร้องถึงร้องได้เพราะ
แต่ทำไมเราร้องเองแล้วไม่เห็นเพ
น่าอนาถ…
นักร้องหลายๆ คน
“อยากเป็นส่วนหนึ่งของดนตรี”
“แต่ไม่รู้จักดนตรี”
มาเปลี่ยนวิธีฝึกซ้อมร้องเพลงกั
“ฟัง” ไม่ใช่ “ได้ยิน”
ฟังทีละประโยค ฟังทีละท่อน
ทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานให้ถู
ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป จนกว่าเราจะเข้าใจมันจริงๆ
โน้ตที่ถูกต้องคืออะไร จังหวะที่ถูกต้องเป็นแบบไหน
ทำไมต้นฉบับเพลงนี้ถึงได้เพราะนัก
ทำไมนักร้องเค้าร้องได้กินใจเหลือเกิน
เค้าเล่าว่าอะไร เนื้อเรื่องมันดำเนินไปแบบไหน
ถ้าเราเข้าใจมันจริงๆ จะไม่ต้องถามเลยว่า
“ร้องเพลงยังไงให้เพราะ”