สอนร้องเพลง – อยากเป็นส่วนหนึ่งของดนตรี แต่ไม่รู้จักดนตรี
เวลาอยากเขียนเรื่องการร้องเพลงที่ไร
ผมก็อยากพูดถึงแต่เรื่องเบสิคทุกทีสิน่า
หลายวันนี้มีโอกาสได้ดูการประกวดร้องเพลง 2 รายการ
ทั้งๆ ที่ก็ไม่ค่อยว่างนะ แต่ก็ยั๊งงงงง
ทะลึ่งมีเวลาดูการประกวดสองรายการนี้จนได้
รายการที่หนึ่ง หนุ่มสาวมาร้องเพลงแข่งกันเป็นดาว
ที่พอได้ฟังเพลงร้องรวมแล้วแบบว่า ปวดยั๊นนนนนนตับ!!!
ร้องเพี้ยนกันกระจุยกระจาย โน้ตตรงมั่งไม่ตรงมั่ง ร้องถึงมั่งไม่ถึงมั่ง
จังหวะคร่อมไปคร่อมมา
แต่คนดูกรี๊ดลั่นฮอลล์ กรี๊ดอัลลัยยยยยยยยย
อ่อๆ กรี๊ดคนหน้าตาดี
รายการที่สองเอาผู้ชนะเก่าๆ มาแข่งกัน ขึ้นชื่อว่าผู้ชนะ มันก็ควรจะเสียงดีล่ะเนอะ
หลายๆ ท่านก็ระดับอาจารย์ เสียงดีกว่าผมเยอะนะะะ
ไม่สงสัยในคุณภาพเสียง และเทคนิคการใช้เสียงเลย
แต่ที่น่าแปลกใจคือ…
ทั้งสองรายการผู้เข้าแข่งขัน ร้องเพลงไม่ค่อยตรงโน้ต
ร้องเพลงไม่ค่อยลงจังหวะ…
เฮ้ยยยยย…
นี่มันพื้นฐานที่สุดของการร้องเพลงให้เป็นเพลงเลยนะ
พวกร้องไม่แม่นโน้ต คือ จะถึงก็ไม่ถึงดี ไถๆ โน้ตไปมั่ง
พอถึงโน้ตที่ควรจะเป็น แม่มหยุดร้องซะงั้น
บางคนก็ร้องแล้วหา primary note แทบไม่เจอเลย
จบคำปุ๊ป vibrate มาจนโน้ตแกว่ง
แกว่งจนไม่รู้ว่ากำลังร้องโน้ตอะไรกันเลยทีเดียว
สายร้องไม่ลงจังหวะนี่ก็น่าตี ไม่เร่งไปนิดก็ช้าไปหน่อย
บางคนเสียงดีมาก แต่พอท่อนที่จังหวะยากๆ เท่านั้นล่ะ
ตะครุบจังหวะกันมันเลย
การร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเนี่ยะ ถ้าขาดเรื่องจังหวะและทำนองไปแล้ว
มันคือ ร้อง เล่น ไม่เป็นเพลงครับ อันนี้ยังไม่ได้นับว่าเพราะมั๊ยนะครับ
พื้นฐานสองอย่างนี้ต้องแม่นยำก่อน “โน้ตใช่ จังหวะชัวร์” มันจะดูดี
เพลงจะฟังเป็นเพลง แล้วค่อยมาว่ากันเรื่องของเพราะไม่เพราะ
กลับมาที่เรื่องร้องเพลงอย่างเดียวนะครับ ดนตรีข้ามไป
หลายคนเวลาร้องเพลง ชอบเลยไปเรื่องเทคนิคอลังการงานสร้าง
ลูกเอื้อนเต็มเหนี่ยว ลูกคอเต็มที่ สารพัดเทคนิคที่จะงัดมาใช้โชว์ว่าข้านี่แหละเจ๋ง
อันนี้ต้องระวังเลยนะครับ เอื้อนมากเอื้อนมาย จนไม่รู้ว่าโน้ตหลักๆ มันคือโน้ตอะไร
ใส่ลูกคอซะจนแยกไม่ออกว่านี่ลูกคอหรือว่าร้องเสียงแกว่ง
ต่อให้พื้นฐานการออกเสียงดีมาจากไหนก็เถอะครับ
เวลาเรากำลังจะร้องเพราะอยู่แล้วเชียว
แล้วมันดันร้องไม่ตรงโน้ต หรือคร่อมจังหวะขึ้นมาเนี่ยะ
คนที่เค้าฟังมันออกจะรู้สึกว่า
“เฮ้ยยยยยยยยยย แม่งอุตส่าห์กำลังจะเพราะแล้วเชียว
มาสะดุดเพราะร้องเพี้ยน หรือร้องไม่ลงจังหวะจนเสียอารมณ์หมดเลย”
หมายความว่ายังไงครับ ก็หมายความว่าเราไม่สามารถทำให้คนฟัง
เพลิดเพลินไปกับบทเพลง ตั้งแต่ต้นเพลงจนจบเพลงได้
อารมณ์ของบทเพลงที่กำลังจะนำพาให้เค้าคล้อยตาม
ถูกขัดด้วยการร้องเพี้ยนหรือไม่ลงจังหวะ
ทำให้เค้าต้องเริ่มสร้างอารมณ์คล้อยตามใหม่อีกครั้ง
เวลาแค่ 3-5 นาทีบนเวทีที่เราร้องนั้น
“เราเอาไม่อยู่”
ผมเปรียบเทียบให้นักเรียนฟังบ่อยๆ ว่า สมมติว่าเราพูดภาษาญี่ปุ่น หรือเกาหลีได้
แล้วมาพูดให้พี่เอ็ดซึ่งเป็นคนไทยฟัง พี่เอ็ดก็จะรู้สึกว่า โอ้ววววว สุดยอด
เก่งมากๆ อ่ะ พูดภาษาญี่ปุ่น เกาหลีได้ด้วย เจ๋งมากๆ
แต่ถ้าเราไปพูดให้เจ้าของภาษาฟัง เค้าอาจจะมีความรู้สึกทะแม่งๆ เล็กๆ
เพราะว่าเราพูดไม่ได้สำเนียง เหมือนเวลาเราได้ยินฝรั่งพูดไทยว่า
“ซาวัดดีค่าบบบบบ คุณพูยิงซวยมากๆ เหลยค่าบบบ”
ก็ฟังรู้เรื่อง สื่อสารได้ แต่ไม่ถูกต้อง
ดังนั้นถ้าอยากพูดให้ได้เหมือนเจ้าของภาษา
ก็ต้องเข้าใจพื้นฐานของภาษานั้นๆ ให้มากขึ้น
การร้องเพลงก็เหมือนกัน ร้องเพราะประมาณหนึ่ง
คนฟังทั่วไปก็รู้สึกแล้วว่า เฮ้ยยยย มันเพราะมากกกกกก
เพราะแค่นี้มันก็เจ๋งกว่าคนทั่วๆ ไปที่เค้าไม่ได้เรียนร้องเพลงแล้ว
แต่เอาจริงๆ มันก็อาจจะยังไม่ดีที่สุด
เคยมีนักร้องคนนึง เรียนร้องเพลงกับผม
แล้วไปร้องเพลงกับวงดนตรีวงนึงเป็นวงแนว jazz
ซึ่งมันก็ยากใช้ได้ นักร้องคนนี้ก็เลยมีปัญหา
เรื่องสัดส่วนของดนตรีที่มันยาก ทำให้ร้องเข้าท่อนนึงไม่ถูก
ซ้อมหลายครั้งก็ยังไม่ดีขึ้น จนนักดนตรีคนหนึ่งในวงนั้นถามว่า
เรียนร้องเพลงกับใครเหรอ นักร้องคนนั้นบอกว่า เรียนกับพี่เอ็ดดี้
กรรมตกเป็นของผม นักดนตรีคนนั้นเป็นรุ่นน้องของผมเอง
เค้าโทรมาหาผมและพูดสั้นๆ ว่า
“พี่… ช่วยเอาไอ้…ไปสอนใหม่ได้มั๊ยครับ แค่ร้องให้ตรงจังหวะมันยังทำไม่ได้เลย
แม่งงงงง อยากเป็นส่วนหนึ่งของดนตรี แต่ไม่รู้จักดนตรี”
…มีความหน้าชา…
อ่านบทความสอนร้องเพลงอื่นๆ เพิ่มเติม คลิ๊กที่นี่