สอนร้องเพลง | ปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงพูดและเสียงร้องที่ดี

สอนร้องเพลง – การหายใจ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงพูดและเสียงร้องที่ดี ได้แก่

  1. อวัยวะในระบบต่างๆ ของร่างกาย มีการทำงานที่ประสานและสมดุลย์กัน
  2. ระบบประสาทต่างๆ ทำงานกันด้วยความสัมพันธ์
  3. ต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนมีความสมดุลย์
  4. สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ รวมถึงกล่องเสียงและเส้นเสียง
  5. ภาวะอารมณ์และจิตใจเป็นปกติ
  6. มีพฤติกรรมการใช้เสียงที่ถูกต้อง
  7. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

เสียงพูดปกติของคนเราจะมีความแตกต่างกันตามเพศและวัย
โดยจะมีค่าประมาณคร่าวๆ คือ ชาย 128 Hz หญิง 225 Hz เด็ก 265 Hz

การหายใจและการควบคุมลมในการร้องเพลง

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า เสียงของคนเราเกิดจาการหายใจเอาลมมาทำการสั่นสะเทือนเส้นเสียงนั้น เราอาจกล่าวได้อีกทางหนึ่งว่า การหายใจที่มีคุณภาพ คือเคล็ดลับในการทำให้เราสามารถใช้เสียงได้อย่างมีคุณภาพด้วย เพราะการที่เราสามารถควบคุมการหายใจได้ ก็เท่ากับว่าเราสามารถควบคุมลมที่จะมากระทบเส้นเสียงของเรา ให้เกิดเสียงได้ตามต้องการ ถ้าสามารถควบคุมการหายใจได้ เราก็สามารถควบคุมการผลิตเสียงให้นิ่ง เรียบ สามารถควบคุมช่วงประโยคของเพลง และสามารถควบคุมความหนักเบาของเสียงได้ ฉะนั้นหากเราได้รับการฝึกซ้อมในการหายใจอย่างถูกวิธีเป็นประจำแล้ว จะทำให้การขับร้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

อวัยวะที่สำคัญในการหายใจ ได้แก่

  1. ปอด (Lungs)

ภายในปอดจะมีถุงลมเล็กๆมากมาย มีหน้าที่ในการเก็บลมเพื่อนนำมาใช้ในการหายใจ,ฟอกโลหิต ฯลฯ โดยปกติคนเราไม่สามารถหายใจเข้าไปในถุงลมได้ครบทุกถุง แต่การร้องเพลงจำเป็นที่จะต้องฝึก เพื่อให้สามารถหายใจเข้าไปในถุงลมได้มากที่สุด

  1. กระบังลม (Diaphram)

กล้ามเนื้อผืนใหญ่ใต้ปอด ที่อยู่เหนือกระเพาะอาหาร ประกอบด้วยซี่โครง และกล้ามเนื้อส่วนชองหน้าท้อง กระบังลมเป็นอวัยวะอีกชิ้นหนึ่งที่เราสามารถบังคับให้ช่วยปอดในการกักเก็บลมได้มากขึ้น เมื่อเราหายใจเข้าปอด ซี่โครงจะขยายตัวเพราะถูกดึงโดนกล้ามเนื้อที่ติดอยู่กับหัวไหล่ เมื่ออากาศเข้าสู่ปอด กระบังลมต้องเคลื่อนตัวลงต่ำ และจะมีหน้าที่ดันอวัยวะภายในช่องท้องมิให้เคลื่อนตัวขึ้นตามการขยายตัวของซี่โครง เพื่อที่จะสามารถกักเก็บลมได้มากๆ

 

การหายใจ, สอนร้องเพลง
สอนร้องเพลง, การหายใจ

  1. ซี่โครง เมื่อเราหายใจเข้า ปอดจะขยายตัวออก และเมื่อปอดขยายตัวออกจะไปดันให้ซี่โครงเกิดการขยายตัว โดยการขยายตัวของซี่โครงนั้นจะขยายจากด้านล่างก่อน

 

  1. กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Front Muscles) มีหน้าที่บังคับลมเข้าออกในปริมาณน้อยไปหามาก ดังนั้นการออกเสียงในลักษณะ จากเสียงค่อยไปหาเสียงดัง หรือเสียงแคบไปหากว้างนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้อวัยวะส่วนนี้เป็นอย่างยิ่ง เมื่อเราหายใจเข้า กล้ามเนื้อหน้าท้องจะขยายตัวออกมาทางด้านหน้า การหายใจออกจะเกิดจากการที่ปอดหดตัวลง ซี่โครงกลับคืนสู่ตำแหน่งปกติ กระบังลมยกตัวขึ้นกลับเข้าที่ กล้ามเนื้อหน้าท้องหดตัวลง

6174956_orig
 ขอขอบคุณภาพประกอบจาก burrelleducation.com

 

การฝึกหายใจในลักษณะลึกถึงกระบังลม

ยืนตัวตรง หลัง ไหล่และศรีษะ ตั้งตรง แยกเท้าออกจากันเล็กน้อยพอสบาย มือเท้าสะเอวไว้ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านหลัง นิ้วที่เหลือวางอยู่ที่กล้ามเนื้อบริเวณซี่โครงซี่ล่างๆ หายใจเข้าลึกๆ (ทางปาก 80 % จมูก 20 %) พยายามให้รู้สึกว่าลมลงไปถึงฐานของปอด จากนั้นค่อยๆผ่อนลมอย่างช้าๆเป็นเสียง ตัวเอส (S) เมื่อลมออกหมด กระบังลมจะคลายตัว กล้ามเนื้อหน้าท้องจะค่อยๆหดตัวแฟบลง ก่อนปฏิบัติซ้ำให้หยุดรอให้กล้ามเนื้อรู้สึกผ่อนคลาย แล้วปฏิบัติซ้ำไปเรื่อยๆ เน้นการควบคุมลมให้ค่อยๆผ่อนไปอย่างช้าๆและสม่ำเสมอ

 

การฝึกในลักษณะเช่นนี้มีผลโดยตรง ต่อผู้ที่ต้องการลากเสียงร้องให้ได้ยาว นิ่ง ไม่แกว่งไปมา

ข้อสังเกตุ : กระบังลมจะมีการขยับตัวเล็กน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Front muscles) ทำงานอยู่นั้น อาจเกิดอาการ เกร็ง ตึง หรือเจ็บบริเวณ กล้ามเนื้อส่วนหลังบ้าง เพราะกล้ามเนื้อหน้าท้อง (Front muscles) กับกล้ามเนื้อส่วนหลัง (Back muscles) เป็นกล้ามเนื้อผืนเดียวกัน การฝึกหายใจด้วยวิธีดังกล่าวเป็นประจำจะทำให้เราสามารถกักเก็บลมไว้ในส่วนของ Back muscles ได้อีกด้วย การหายใจด้วยวิธีดังกล่าว ไม่จำเป็นที่จะหายใจเข้าไปปริมาณมากๆจนเต็มจนเกินไป (Force) โดยหวังว่าจะเป็นการให้กระบังลมขยายตัวมากๆ เพราะวิธีที่ถูกคือการหายใจเข้าไปอย่างพอดี แล้วฝึกฝนทักษะการหายใจเป็นประจำ เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ

 

สนใจเรียนร้องเพลงกับ อี-มิวสิค โทร. 0843557700

 

Comments

comments